ประธานชมรมของเรา

ผม"นายศรัณยู ศรีสมพร" ครู คศ.4 วิทยฐานะเชี่ยวชาญ สาขาวิชาเคมี   มีประวัติ และ ผลงานวิชาการ ดังนี้ ครับ
วุฒิการศึกษา
     วท.ม.การสอนเคมี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ผลงานวิชาการ อ.3
     บทเรียนสำเร้จรูป วิชาเคมี
ผลงานวิชาการ คศ.4      เอกสารประกอบการเรียนและหนังสือเรียนอิเล้กโทรนิกส์ วิชาเคมี
     คู่มือครูการทดลองเคมีแบบย่อส่วน
     เอกสารประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วย "เทคนิคการสอนเชิงรุก (Active Teaching and Learning Approaches in Science)
ผลงานดีเด่น     
     1. วิทยากรแกนนำวิชาเคมี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. 2539
     2. วิทยากรแกนนำวิชาคอมพิวเตอร์ ระดับมัธยมศึกษา สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี พ.ศ. 2538
     3. คณะกรรมการตรวจสอบและปรับปรุงคุณลักษณะเฉพาะครุภัณฑ์วิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สาขาวิชาเคมี กรมสามัญศึกษา พ.ศ.2545 – 2550
     4. คณะกรรมการฝ่ายพัฒนาวิชาการโครงการพัฒนาคุณภาพการมัธยมศึกษา ระยะที่ 1 (โครงการเงินกู้ธนาคารโลก) พ.ศ.2545
     5. คณะกรรมการพิจารณาหนังสือเรียน คู่มือครูวิชาเคมี electronic book สื่อการสอน และกรอบ
หลักสูตร สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี พ.ศ.2546 – ปัจจุบัน
ผลงานการเป็นวิทยากร
     1. คณะกรรมการวางแผนและวิทยากรอบรมครูโรงเรียนในฝัน สำนักนวตกรรมทางการศึกษา สพฐ.
พ.ศ.2550   โครงงานวิทย์    ICTพื้นฐาน   การสอนเชิงรุก  นาโนเทคโนโลยี
     2. วิทยากรเผยแพร่ความรู้ด้านนาโนเทคโนโลยี ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ
     3. วิทยากรอบรมครูแกนนำ 4 ภูมิภาค การบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศกับการสอนวิทยาศาสตร์ สำนักวิชาการ สพฐ.
     4.  วิทยากรอบรมครู 8 กลุ่มสาระ การพัฒนาผลงานวิชาการ  จังหวัดปราจีนบุรี
     5.  วิทยากร UTQ online วิทย์ ม.ต้น (UTQ 207)  Backward design  และ การประเมินตามสภาพจริง
     6.  วิทยากร อบรม integrated ICT into Science Instruction   ณ ศูนย์ QTEP in Science Indonesia

การฝึกอบรม ในระดับสากลและนานาชาติ

1. อบรมเชิงปฏิบัติการ Active Teaching and Learning Approaches in Science กับ Dr. Mark Windale, Centre for Science Education, Sheffield Hallam University UK
     เป็นการอบรมเกี่ยวกับเทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์ที่เน้นการลงมือปฏิบัติ เพื่อให้นักเรียนค้นพบความรู้เอง ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า การสอนเชิงรุก มีการใช้เทคนิคการสอนหลากหลาย ได้แก่ Active Reading ที่เน้นการลงมือทำกิจกรรมระหว่างการอ่าน เป็นต้นว่า เรียงลำดับ จับคู่ ติดป้าย ขีดเส้น เน้นคำ เขียนแผนภาพ ฯ Active Writing เน้นการสังเคราะห์ความรู้ที่เรียน ด้วยการเขียนถ่ายทอดความรู้ออกมา เป็นความเรียงยาว ๆ เช่น วารสาร โปสเตอร์ แผ่นพับ หนังสือพิมพ์ ฯ Group Disscussion ที่เน้นการทำงานกลุ่ม แบบเดียวกันกับ การเรียนแบบร่วมมือร่วมใจ (Cooperative Learning) แต่มีรูปแบบที่ชัดเจน  เข้าใจง่าย ได้แก่ การใช้คำถามที่มีโครงสร้าง  Jigsaw  Fisherman ring เป็นต้น  การใช้สถานการณ์จำลอง(Simulation) ที่ใช้แบบจำลอง หรือ นักเรียนจำลองสถานการณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นนามธรรม หรือเป็นทฤษฎี ต่าง ๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงในระดับอนุภาคต่าง ๆ ที่เข้าใจได้ยาก ไม่สามารถสาธิต หรือทดลองให้เห็นจริงได้ การใช้เกมที่เหมาะสมกับเนื้อหาวิทยาศาสตร์  ตลอดจนเทคนิคที่น่าสนใจอื่น ๆ อีก



2. การประชุมเชิงปฏิบัติการด้านการพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ไปสู่ระดับมืออาชีพ(Science Inquiry) กับ Professor Kevin Wisconsin University USA
     เป็นการอบรมเกี่ยวกับวิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้(Inquiry) ที่เน้นการวางรากฐานผู้เรียนไปสู่การทำโครงงานวิทยาศาสตร์และการเป็นนักวิจัยต่อไป รูปแบบการอบรมเน้นไปที่การสำรวจตรวจสอบ(Investigation) และ ลักษณะสำคัญ 5 ประการ(5 F)ของการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ ซึ่งช่วยให้ครูผู้สอนเข้าใจ และ นำวัฎจักร 5E ไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
3. OBEC Workshop INQUIRY LEARNING Cortland University USA
เป็นการอบรมร่วมกับการศึกษาดูงาน ที่มหาวิทยาลัย Cortland สหรัฐอเมริกา โดยนักวิชาการ สพฐ.และคณะครูที่ได้รับคัดเลือก จาก สพฐ.ได้สังเกตการสอนของครูวิทยาศาสตร์ ในโรงเรียนมัธยมศึกษาของสหรัฐอเมริกา และร่วมเข้าเรียนในชั้นเรียนเดียวกันกับนักศึกษาฝึกหัดครูวิทยาศาสตร์ ของมหาวิทยาลัย Cortland ซึ่งอำนวยการสอนโดย Dr.Ovil ตลอดจนฝึกเขียนแผนการสอน แบบ 5 E  และการประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับวิธีการสอนวิทยาศาสตร์ ด้วยวิธีการสอนแบบสืบเสาะ(Inquiry) ในเนื้อหาวิทยาศาสตร์ ต่าง ๆ ตั้งแต่ระดับประถมจนถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย
<a href="https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhL0wADDn3x2xYCqxksg7MxpoOt8iRxqJL0gb1D0rfJqGD8VKRWU5e4dFKIEn9rA772Gn5VLTFuqyW_hDkZmv8Lfv4V5NCfySseve182xR-4o337uHuOODFYgYn5_ZRr6QrveBjXNcuA3M/s1600/DSC02013.JPG%22%3E%3Cimg id="BLOGGER_PHOTO_ID_5545604146854150482" style="width: 200px; height: 150px;" alt="" src="https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhL0wADDn3x2xYCqxksg7MxpoOt8iRxqJL0gb1D0rfJqGD8VKRWU5e4dFKIEn9rA772Gn5VLTFuqyW_hDkZmv8Lfv4V5NCfySseve182xR-4o337uHuOODFYgYn5_ZRr6QrveBjXNcuA3M/s200/DSC02013.JPG" border="0" /></a> <a href="https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgWHqQqLr3eyR5AKQhmA492LnMOnd0w0GE8F6ddKSJoGx7yHvmg0tcnKq5EBkfr0VliEQrNpnuQiHgiMBtdw9ASFPfrWV-ThUqd-4Oh_OeiRBxoXskQ2Sdx36oRmAD2sTG3753jIohELCQ/s1600/DSC01163.JPG%22%3E%3Cimg id="BLOGGER_PHOTO_ID_5545612049899391026" style="width: 200px; height: 150px;" alt="" src="https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgWHqQqLr3eyR5AKQhmA492LnMOnd0w0GE8F6ddKSJoGx7yHvmg0tcnKq5EBkfr0VliEQrNpnuQiHgiMBtdw9ASFPfrWV-ThUqd-4Oh_OeiRBxoXskQ2Sdx36oRmAD2sTG3753jIohELCQ/s200/DSC01163.JPG" border="0" /></a>
4. Third Country Training Programme :Professional Development Programme for Secondary Science Educators ศุนย์วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ RECSAM Malaysia
     เป็นการอบรมเกี่ยวกับทักษะพื้นฐานทุก ๆ ด้าน ที่ครูวิทยาศาสตร์ ควรได้รับการพัฒนา ได้แก่ การใช้ ICT ขั้นพื้นฐานเพื่อการผลิตสื่อการสอน และการบูรณาการ ICT กับการสอนวิทยาศาสตร์ การประเมินผลตามสภาพจริง Active Learning  Problem Base Solving   การออกแบบและวางแผนการจัดการอบรม  ตลอดจน School try out ซึ่งเป็นการทดลองนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมทั้งหมดมาออกแบบหน่วยการเรียน และทดลองสอนจริง ในโรงเรียนมัธยมศึกษา ประเทศมาเลเซีย เพื่อศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนจากหน่วยการเรียนที่ได้ออกแบบขึ้น
5. Supervisor in Science   ณ สถาบัน QITEP Recsam Indonesia  
     เป็นการอบรมเกี่ยวกับการประเมินและการนิเทศการสอนวิทยาศาสตร์ให้กับครูวิทยาศาสตร์ มีเนื้อหาเกี่ยวกับหลักการออกแบบเครื่องมือสำหรับประเมินครูวิทยาศาสตร์ การนิเทศก์ครูวิทยาศาสตร์ ตลอดจนความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์


6. School of Science and Technology
     ศึกษาดูงานโรงเรียนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  แห่งชาติ ของประเทศ สิงคโปร์  เปรียบเทียบหลักสูตรวิทยาศาสตร์กับห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ของไทย ของ Science and Technology School และการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ต่ำมาก ของโรงเรียน Nort light School  การบูรณาการ ICT กับการสอนวิทยาศาสตร์ ที่มีรูปแบบทันสมัย การเตรียมคนเพื่อเข้าสู่ ศตวรรษที่ 21 และแนวคิดเกี่ยวกับการส่งเสริมนักเรียนให้ได้รับการพัฒนาการสูงสุดตามศักยภาพ

    เพื่อนสมาชิกที่เคารพ ครับ ผมแนะนำตัวเพื่อให้ท่านทราบถึงความถนัดทางวิชาการของผม จะได้เกิดความสะดวกเมื่อท่านต้องการปรึกษาผลงานทางวิชาการ ยินดีให้คำปรึกษากับสมาชิกชมรมครูวิทยาศาสตร์ทุกท่านโดยไม่คิดค่าตอบแทนครับ